fd-additives

Today พฤษภาคม 18 , 2567

ความรู้ที่ควรทราบ

ท้องเสียเรื้อรังในสัตว์เลี้ยง 1

บ่อยครั้งที่หมอให้คำปรึกษาแก่เจ้าของสัตว์เลี้ยงจำนวนมากที่มีปัญหาท้องเสียเรื้อรังโดยประวัติการป่วย และการรักษาของสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ มักพบว่า

  • มีประวัติการป่วยนานกว่า 3 อาทิตย์ บางรายเป็นมานานหลายเดือน
  • ได้รับการรักษาโดยกินยาปฏิชีวนะ ยารักษาบิด แล้วดีขึ้นบ้าง และกลับมาเป็นอีกซ้ำไปซ้ำมา สุดท้ายคือไม่หายสักที
  • มักพบในสัตว์วัยเด็ก ไม่จำกัดเพศ เช่น หลังรับมาเลี้ยงได้ไม่นาน หรืออยู่ในช่วงที่ร่างกายกำลังมีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว พูดง่ายๆ คืออยู่ในวัยกำลังกิน กำลังเล่น กำลังนอน และกำลังถ่ายมากเป็นพิเศษ

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือสัตว์เลี้ยงในวัย "กำลังถ่าย" ที่มากเป็นพิเศษนี้ แถมมีลักษณะที่น่ารังเกียจคือ ถ่ายเหลว นิ่มเป็นยาสีฟัน ติดก้น เลอะเทอะ ทำความสะอาดลำบาก สร้างปัญหาทางด้านสุขลักษณะต่างๆตามมา เป็นปัญหาที่เจ้าของส่วนมาก "เครียด"  และต้องการจัดการให้หมดไป

เจ้าของสัตว์มักได้รับการรักษาโดยสัตวแพทย์มักบอกว่า อุจจาระมีเชื้อแบคทีเรียมาก บ้างก็บอกว่าเป็นบิด แล้วให้การรักษาในลักษณะโรคติดเชื้อ (แบคทีเรีย, บิด) คำถามที่ต้องคิดคือ หากเป็นการติดเชื้ออย่างที่สงสัย แล้ว ทำไมกินยาแล้วไม่หาย ยิ่งกินยา ยิ่งเป็นหนักขึ้น เรื้อรังขึ้น บางรายมีการให้ยาถ่ายพยาธิในทางเดินอาหารเพิ่มเติม เพราะสงสัยว่าอาจมีพยาธิ แต่ก็ไม่ดีขึ้น ปรับอาหารแล้วก็ไม่ดีขึ้น  

การที่จะให้คำแนะนำในการรักษาอาการท้องเสียเรื้อรังในสัตว์เลี้ยงนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และหากต้องการให้คำวินิจฉัยได้มาตรฐานวิชาชีพอาจต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการอีกหลายอย่างเพื่อทำการวินิจฉัยแยก ในทางปฏิบัติอาจลำบากเพราะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตามมามากมาย เจ้าของสัตว์หลายคนก็อาจไม่เข้าใจว่าทำไมหมอต้องตรวจมากมาย แต่หากคุณเจอปัญหานี้ควรทำอย่างไร เพื่อให้การรักษาเหมาะสม และมีค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผลที่สุด

1. สัตวแพทย์ต้องวินิจฉัยเบื้องต้นโดยยึดแนวทางง่ายๆก่อน มีหลักการพอที่จะแยกได้ว่า สงสัยปัญหาจากการติดเชื้อ หรือ ไม่ติดเชื้อ

2. หากมั่นใจว่าเป็นการติดเชื้อ อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมสำหรับเชื้อที่สงสัย

3. หากเป็นปัญหาที่ไม่อาจแยกได้ว่าติดเชื้อหรือไม่ ต้องถามว่าจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หรือมีทางเลือกอื่นหรือไม่ที่ปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อยกว่าหากใช้นานๆ เช่น โปรไบโอติก การใช้โปรไบโอติกไม่ต้องเสี่ยงกับภาวะ  DYSBIOSIS หรือการเกิดภาวะ  AAD (Antibiotic-Associated-Diarrhoea) ตามมา

เบื้องต้นเป็นแนวทางง่ายๆในการตัดสินใจ ส่วนจำเป็นที่จะต้องตรวจอย่างละเอียดมากน้อยเท่าไร เพื่อให้ได้คำวินิจฉัยสุดท้ายนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียด ซับซ้อน ต้องมีแนวทางปฏิบัติตามแต่ละประเด็นปัญหา เช่น สงสัยปัญหาต่อไปนี้

  • ตับอ่อนอักเสบ หรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับขาดเอนไซม์ช่วยย่อยจากตับอ่อน (EPI - Exocrine Pancreatic Insufficiency)
  • ภาวะ SIBO (Small Intestinal Bacteria Over Growth)
  • กลุ่มอาการ IBS-IBD (Irritable Bowel Syndrome - Inflamatory Bowel Diseases)
  • ภาวะความผิดปกติของระบบการย่อย และการดูดซึม (Maldigestion-Malabsorption Syndrome)
  • ภาวะแพ้อาหาร (Food allergy, Food intolerance)
  • อื่นๆ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจลักษณะอุจจาระก่อนว่า มาตรฐานในทางสัตวแพทย์แล้วแบ่งเป็นเกรดต่างๆคือ 1-6 

อุจจาระแข็ง แห้ง มีลักษณะเป็นก้อนแตก หรือคล้ายลูกกระสุน

อุจจาระแห้ง มีรูปทรงชัดเจน เวลาเก็บแล้ว ไม่ทิ้งรอย หรือคราบอุจจาระ

อุจจาระมีรูปทรง ค่อนข้างชื้น ผิวหน้ามีลักษณะ เหนียว ทิ้งรอย คราบอุจจาระเวลาเก็บ

อุจจาระมีลักษณะเปียก เริ่มมีการสูญเสียรูปทรง มีร่องรอยของอุจจาระที่พื้นชัดเจนเวลาเก็บ หรือทำความสะอาด มีลักษณะคล้ายยาสีฟัน

อุจจาระ นิ่ม เละ ไม่สามารถบรรบายรูปร่าง ลักษณะคล้านดิน โคลน เนื้อเหนอะเหนาะ

อุจจาระเป็นน้ำ ไม่มีรูปร่าง เป็นลักษณะท้องเสียอย่างชัดเจน

จะเห็นว่าชื่อของโรค อาการ หลือกลุ่มอาการที่กล่าวมาเป็นเรื่องที่สัตวแพทย์ต้องเป็นผู้วางแผนในการวินิจฉัย มีรายละเอียดมากมายในแต่ละอย่าง ดังนั้นการจะรักษาสัตว์เลี้ยงท้องเสียเรื้อรังหากจะทำการตรวจทุกอย่าง คงเป็นไปไม่ได้ เพราะค่าใช้จ่ายจะสูงมาก ดังนั้นสัตวแพทย์ต้องมีวิจารณญานในการเลือกวิธีการตรวจ รักษา หลักการที่สำคัญคือต้องไม่ทำให้ปัญหาที่เป็นอยู่ แย่ลง 

 ประสพการณ์ที่หมอได้รับจากเจ้าของส่วนมากที่ติดต่อมามักจะมีคำติว่า "รักษาแล้ว ไม่ดีขึ้น" จริงๆแล้วต้องบอกว่าการรักษาจะดีขึ้นหรือไม่ คงไม่ได้เกิดจากฝ่ายใดฝ่ายเดียว สัตวแพทย์ก็ต้องมีความเข้าใจ และต้องรักษาด้วยแนวทางที่เหมาะสมที่สุด เจ้าของก็ต้องดูแล และมีการจัดการที่ดี ดังนั้นการรักษาสัตว์เลี้ยงท้องเสียเรื้อรัง ต้องมีความอดทน ต้องสื่อสารสร้างความเข้าใจ ใช้เวลา มีบันทึกลักษณะของอุจจาระ ความถี่ เพื่อดูว่าดีขึ้นอย่างไรหรือไม่

ผลิตภัณฑ์โปรไบโอติก เพื่อการจัดการปัญหาระบบทางอาหารในสัตว์เลี้ยง  (Probiotics For Small & Exotic Pets)

Link: ท้องเสียเรื้อรังในสัตว์เลี้ยง 2โปร-โคลิน เอนเทอโรเจนิก (Pro-Kolin Enterogenic)Pro-Kolin Enterogenic เพิ่มเติม 1

: